
อันตรายกว่าที่คุณคิด PM2.5 “เสี่ยงปอดอักเสบ โควิด ติดวัณโรคง่าย”

.
รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ กล่าวถึงวิกฤติฝุ่น PM 2.5
.


สาเหตุ เกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นในปริมาณเท่าๆ เดิม แต่เพราะอากาศหนาวทำให้เกิดสภาพอากาศอัดแน่น ทำให้ความเข้มฝุ่นต่อ 1 หน่วยอากาศเพิ่มขึ้น
.


ผลกระทบ

ก่อให้เกิดการระคายเคืองจมูก ตา ผิวหนังและจะระคายมากหากเป็นภูมิแพ้ ทำให้โรคหืด ถุงลมโป่งพองกำเริบได้

PM 2.5 มีฤทธิ์เหมือนบุหรี่ทำให้เกิดปอดอักเสบ เสี่ยงติดโรคโควิด-19 ได้ง่ายกว่า และเป็นวัณโรคได้ง่าย ทำให้สมรรถภาพปอดถดถอย

ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ เกิดมะเร็งได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะมะเร็งปอด
.


รศ.นพ.นิธิพัฒน์ มองว่า เกณฑ์การแจ้งเตือน PM 2.5 ที่กรมควบคุมมลพิษใช้ผ่านแอปพลิเคชัน Ai4Thai ควรปรับ ปัจจุบันใช้เกณฑ์เตือนภัย 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เตือนภัยระดับสีส้ม ซึ่งใช้ได้กับคนปกติแต่สำหรับกลุ่มเปราะบางระดับนี้ไม่ปลอดภัย
.
ควรปรับเตือนสีส้มตั้งแต่พบฝุ่นหนาแน่นระดับ 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ปรับสีแดงให้เตือนตั้งแต่ระดับ 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร รวมถึงให้เพิ่มการแจ้งเตือนระดับสีม่วง สีเลือดหมูด้วย เพื่อบ่งชี้ถึงภาวะวิกฤติอย่างหนึ่ง
.


ข้อแนะนำสำหรับประชาชน

ติดตามสภาพฝุ่น หากอยู่ในพื้นที่ฝุ่นมากให้งดพฤติกรรมรับฝุ่น

ควรดื่มน้ำมากๆ เพราะร่างกายสามารถขับฝุ่นออกทางระบบขับถ่ายได้

ควรกินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยลดการอักเสบที่เกิดจากฝุ่น

ควรเพิ่มพื้นที่สีเขียวรอบตัวจะช่วยฟอกอากาศระยะยาว

ควรเพิ่มแผ่นกรองอากาศ เครื่องกรองอากาศในบ้าน หากไม่มีให้ใส่หน้ากากอนามัยกันฝุ่นไว้ตลอดเวลา